Coral Nursery

ปักธงโครงการสร้างฟาร์มปะการังในภูเก็ต ด้วยเทคโนโลยีจาก ดร. ชูร์แบร์ของมูลนิธิเจ้าชายอัลเบิร์ตที่ 2 แห่งประเทศโมนาโก

เทคโนโลยีระบบนี้ทำให้ปะการังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและสามารถย้ายไปยังแนวปะการังรอบภูเก็ตได้ในภายหลัง (ด้วยความร่วมมือกับ NGO ท้องถิ่นและตัวแทนจากทางภาครัฐ) เป็นแนวปะการังที่ได้รับความเสียหายจากกิจกรรมทางการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ เช่น เกาะพีพี (ร้อยละ 90 ของแนวปะการังได้ตายไปด้วยสาเหตหนึ่งที่มาจากการเข้ามาของนักท่องเทียวที่มากกว่า 5000 คนต่อวันภายในเวลา 18 ปีที่ผ่านมา) เกาะราชา เกาะเฮ (เกาะปะการัง) และแนวปะการังอื่นๆ ในภูเก็ต นอกจากวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์แล้ว โครงการจึงวางแผนที่จะสร้างฟาร์มปะการังภูเก็ต ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาในอนาคตสำหรับผู้ที่รักธรรมชาติทุกคน

ข้อเท็จจริงและข้อมูลทางสถิติ

แนวปะการังเป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด จัดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเป็นที่หลบภัยให้กับสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ทั้งยังเป็นแหล่งควบคุมห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตกว่าพันชนิดและส่งผลโดยตรงต่อสภาพความเป็นอยู่ของพวกเรา นอกเหนือจากการเป็นกันชนเพื่อป้องกันแนวชายฝั่งจากคลื่น พายุและน้ำท่วมแล้ว แนวปะการังยังเป็นที่หลบภัยของสิ่งมีชีวิตที่มีสรรพคุณเพื่อใช้ในการผลิตยาสำหรับอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพด้วย

แต่ปัจจุบันแนวปะการังปกคลุมพื้นที่ใต้ท้องทะเลน้อยกว่าร้อยละ 1 และได้รับผลกระทบ ที่ส่งผลให้ปะการังขับเอาสาหร่ายทะเลที่อยู่ในตัวปะการังออกมา เรียกว่าการฟอกขาวทำให้อ่อนแอต่อโรค เกิดภาวะปรสิตและตายในที่สุด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เกิดมาจากกิจกรรมสันทนาการและการประกอบอาชีพต่างๆ รวมทั้งการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากโรงงานการผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงแรมและบ้านเรือน การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มาจากยานพาหนะที่ใช้สัญจร ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ

นับเป็นการเพิ่มปริมาณการปล่อยสารพิษจากการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยกิจกรรมของมนุษย์ที่ได้ถูกปล่อยให้อยู่ในชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่วัฏจักรทางธรรมชาติ

The majority of that extra CO2 is absorbed by the oceans beyond their natural capacity to do so.

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่จะได้รับการดูดซับโดยมหาสมุทรซึ่งเกินความสามารถของธรรมชาติที่จะทำได้จนส่งผลให้อุณหภูมิในน้ำทะเลสูงขึ้นและเกิดการเปลี่ยนแปลงสารเคมีในน้ำกระตุ้นให้เกิดการเป็นกรดในน้ำทะเลอีกด้วย

 

ผลกระทบ

การเกิดปะการังฟอกขาวและตายในที่สุด

แหล่งหลบภัยและหนึ่งใน 4 ของแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลทั้งหมดหายไป

โครงสร้างของปะการังจะเริ่มอ่อนแอ

จนลดความสามารถในการป้องกันแนวชายฝั่ง ต่อต้านแรงคลื่นและการกัดเซาะชายฝั่ง (แนวปะการังที่สุขภาพดีช่วยลดพลังงานจากคลื่นได้เฉลี่ยร้อยละ 97)

แพลงตอนและสาหร่ายทะเลตาย

สิ่งมีชีวิตที่ผลิตออกซิเจนร้อยละ 70 ให้โลก

องค์กรเอกชนนอกภาครัฐ (NGO) และองค์กรภาครัฐกำลังดำเนินการฟื้นฟูแนวปะการังในภูมิภาค เราจะสนับสนุนโครงการเหล่านี้ด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้ปลูกปะการังบนบกได้ แข็งแรงและเจริญเติบโตได้เร็วกว่าถึง 8 เท่าที่จะโตในทะเล

คำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของคุณได้ที่นี่

Pin It on Pinterest

Share This